วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

รางวัลโนเบล

      
       รางวัลโนเบล (สวีเดน: Nobelpriset; อังกฤษ: Nobel Prize) เป็นรางวัลประจำปีระดับนานาชาติ ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการสแกนดิเนเวีย พิจารณาผลงานวิจัยหรือสิ่งประดิษฐ์ที่โดดเด่น หรือสร้างคุณประโยชน์ให้กับมนุษยชาติ ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม ตามเจตจำนงของอัลเฟรด โนเบล นักเคมีชาวสวีเดน ผู้ประดิษฐ์ไดนาไมท์ โดยก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1895 แต่การมอบรางวัลในสาขาฟิสิกส์ สาขาเคมี สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ สาขาวรรณกรรม และสาขาสันติภาพ เริ่มมอบรางวัลครั้งแรกในปี ค.ศ. 1901
การมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพจัดขึ้นที่เมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ ส่วนสาขาอื่นๆ จัดที่เมืองสต๊อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ผู้ได้รับรางวัลโนเบลในแต่ละสาขานั้นถือว่าเป็นเกียรติยศสูงสุดในสาขาวิชาชีพนั้นๆ[1]
การมอบรางวัลโนเบลจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันที่ 10 ธันวาคม โดยผู้พระราชทานคือ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งราชอาณาจักรสวีเดน ถึงแม้ว่าบางปีรางวัลบางสาขาอาจไม่มีการตัดสิน แต่มีข้อกำหนดว่าระยะการเว้นการมอบรางวัลต้องไม่เกิน 5 ปี สำหรับผู้ได้รับรางวัลจะได้รับเหรียญรางวัลโนเบล ใบประกาศเกียรติคุณ เงินรางวัลประมาณ 10 ล้านโคร์นหรือประมาณ 44 ล้านบาท

 รายชื่อผู้ได้รับรางวัลโนเบล
  • สาขาเคมี
  • สาขาเศรษฐศาสตร์
  • สาขาแพทยศาสตร์และสรีรวิทยา
  • สาขาวรรณกรรม
  • สาขาสันติภาพ
  • สาขาฟิสิกส์

  • - ผู้ได้รับรางวัลที่มีอายุน้อยที่สุด ได้แก่ ลอเรนซ์ แบรกก์ (William Lawrence Bragg) ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ เมื่อปี พ.ศ. 2458 (ค.ศ. 1915) โดยได้รับรางวัลเมื่ออายุเพียง 25 ปี
    - ผู้ได้รับรางวัลที่มีอายุมากที่สุด ได้แก่ ลิโอนิด เฮอร์วิคซ์ (Leonid Hurwicz) ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) โดยได้รับรางวัลเมื่ออายุ 90 ปี และเสียชีวิตลงในปีต่อมา[4]
    - องค์กรและบุคคลได้รับรางวัลบ่อยครั้งที่สุด ได้แก่
    องค์กรที่ได้รับรางวัลโนเบลมากที่สุด ได้แก่ สภากาชาดสากล โดยได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) และ พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963)
    - มารี กูรี ได้รับรางวัลสาขาฟิสิกส์ ร่วมกับ อองตวน อองรี เบ็กเกอเรล เมื่อปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) และได้รับรางวัลโนเบลอีกครั้งในสาขาเคมี ร่วมกับ ปิแยร์ กูรี เมื่อปี พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911)
    - จอห์น บาร์ดีน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ 2 ครั้ง ได้แก่ ปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) และ พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972)
    - ลีนุส คาร์ล พอลลิง ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ในปี พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) และ ได้รับรางวัลโนเบลอีกครั้งในสาขาสันติภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962)
    - เฟรดเดอริก แซงเงอร์ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี 2 ครั้ง ได้แก่ ในปี พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) และ พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980)
    - ตระกูลที่ได้รับรางวัลโนเบลมากที่สุด ได้แก่ ตระกูล "กูรี" โดยมีผู้ได้รับรางวัลโนเบลทั้งหมด 3 คน ได้แก่
    - ปิแยร์ กูรี และ มารี กูรี ได้รับรางวัลโนเบลเคมี ในปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) และ
    - อีแรน โฌลิออต-กูรี และ เฟรเดริก โฌลิออต ผู้เป็นสามี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี พ.ศ. 2478 (ค.ศ. 1935)
    - ผู้ที่ปฏิเสธการเข้ารับรางวัลโนเบล ได้แก่ ฌอง ปอล ซาร์ต ซึ่งปฏิเสธการเข้ารับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม ในปี พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) และ เล ดุ๊ก โถ ซึ่งปฏิเสธการเข้ารับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ในปี พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973)
    - ผู้ที่ถูกบังคับให้ปฏิเสธรางวัลโนเบล ได้แก่ ริชาร์ด คูห์น (สาขาเคมี ปี 1938), อดอล์ฟ บูทีแนนดต์ (สาขาเคมี ปี 1939) และเกอร์ฮาร์ด โดแม็กค์ (สาขาสรีรวิทยา ปี 1939) ซึ่งทั้งสามถูกอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ กดดันให้ปฏิเสธรางวัลดังกล่าว นอกจากนี้ยังมี บอริส ปาสเตอร์แน็ก (สาขาวรรณกรรม ปี 1958) ที่ถูกรัฐบาลโซเวียตกดดัน หากเดินทางไปรับรางวัล[5]
    - ผู้เข้ารับรางวัลโนเบล 763 ราย แบ่งเป็นเพศชาย 730 ราย และ เพศหญิงมีเพียง 33 ราย

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น